ที่มาและวัตถุประสงค์ของงานประชุมวิชาการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 6
การส่งบทความวิจัย
บทความวิจัยที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ในแหล่งอื่น ๆ ผู้เขียนบทความจะต้องส่งบทความฉบับเต็ม (full paper) ทั้งหมดในรูปของไฟล์เอกสาร Microsoft Words และ pdf โดยการลงทะเบียนและส่งบทความในระบบ Online ตาม link นี้ https://nctaect2023.com
ทางผู้จัดจะรับพิจารณาบทความที่จัดพิมพ์ตามรูปแบบที่กำหนด (Template) รูปแบบไฟล์ทั้ง Microsoft word และ pdf. พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH SarabunPSK ทั้งหมด จำนวนหน้าทั้งหมดต้องไม่เกิน 12 หน้า ขนาด A4
การประเมินบทความและการตอบรับ
บทความวิจัยที่ส่งเข้ามา จะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องแบบ Double-blinded Review โดยที่การตัดสินใจตอบรับหรือปฏิเสธการเผยแพร่บทความนั้น ๆ ให้เป็นไปตามผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิและ/หรือผู้จัดงาน กำหนดการตอบรับประมาณ 15 วันทำการ หลังจากส่งบทความ
ท่านสามารถส่งบทความใน 2 กลุ่ม และ17 หัวข้อย่อยได้ดังนี้
1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสังคม (Innovation in Learning for Social Development)
1.1 การออกแบบหลักสูตร การสอนและการประเมิน (Curriculum, Instruction, and Assessment)
1.2 เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technologies)
1.3 คอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education)
1.4 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (ICT for education)
1.5 การพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้สอนและผู้เรียน (Professional Development of Teachers and Learners)
1.6 นิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชนดิจิทัล (Communication Arts and Digital Mass Communication)
1.7 เทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต (Metaverse Technology)
1.8 การจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้ (Knowledge Management and Transfer)
1.9 การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ความยั่งยืน (Educational Management of Sustainable Development)
1.10 การบริหารจัดการชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ความยั่งยืน (Community Management for Sustainable Development)
1.11 การพัฒนาผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurs)
1.12 หัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเรียนรู้ (Related Topics in Learning Development)
2.บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม (Technology Integration for Industrial Development)
2.1 วิศวกรรมและเทคโนโลยีประยุกต์ (Engineering and Technology Application)
2.2 การออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนากระบวนการ (Product Design and Process Development)
2.3 พลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืน (Renewable Energy for Sustainability)
2.4 การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Technology Management)
2.5 หัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ (Related Topics in Industrial Development)